วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558


อินทผลัม # Date Palm 



อินทผลัม [อิน-ทะ-ผะ-ลำ]   (อังกฤษdate palm


              อินทผลัม คืออะไร??...ย้อนไปในดินแดนอาหรับโบราณ อันแห้งแล้ง ภูมิประเทศกึ่งทะเลทราย หลายร้อยปี ...ปาล์มชนิดหนึ่งเจริญเติบโตได้ตามแหล่งโอเอซิส(แหล่งตาน้ำที่พืชสามารถเจริญเติบโตได้ในทะเลทราย) เป็นที่พักอาศัยร่มเงา เป็นอาหารที่ให้ความหวานให้พลังงานสูงในยามที่ออกผลสำหรับผู้เดินทางข้ามทะเลทราย ...เป็นผลไม้ที่ทรงคุณค่าแก่การดำรงชีวิต สร้างชุมชน สร้างวัฒนธรรม ให้อยู่ได้ยั่งยืนยาวนานมาจนถึงปัจจุบันได้ จนได้ชื่อว่าเป็นพืชที่พระเจ้าได้ทรงประทานมาให้ เป็นผลไม้สวรรค์สำหรับชาวอาหรับ ชาวมุสลิม สืบทอดนับถือยืนยาวจนถึงปัจจุบัน ...ผลไม้สวรรค์ที่กล่าวมานั้นก็คือ อินทผลัม นั่นเอง..


"ผลไม้ของพระอินทร์"
       อินทผลัม : เป็นคำผสมสองคำในภาษาบาลีสันสกฤต คำบาลี "อินฺท" (inda) หรือ สันสกฤต "อินฺทฺร" (indra) หมายถึง พระอินทร์ และ คำสันสกฤต "ผลมฺ" (phalam) ที่มีความหมายว่า ผลไม้ จึงได้ชื่อว่า "ผลไม้ของพระอินทร์"

       อินทผลัม เป็นพืชตระกูลปาล์ม     มีชื่อเรียกท้องถิ่นแตกต่างกันไป อาหรับ เรียก ตามัล มลายู  เรียก ตามา มาเลย์ เรียก กุรหม่า มีหลายสายพันธุ์ มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทรายหรือกึ่งแห้งแล้ง  ลำต้นมีความสุงประมาณ 30 เมตร มีขนาดลำต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีใบติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน ทางใบยาว 3-4 เมตร ใบเป็นแบบขนนก ใบย่อยพุ่งออกหลายทิศทาง ช่อดอกจะออกจากโคนใบ ผลทรงกลม รี ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ออกเป็นช่อรสหวานฉ่ำ ทานได้ทั้งผลดิบและสุกขึ้นอยู่กับชนิดของสายพันธุ์ ผลจะมีสีเหลืองจนถึงสีส้ม แดง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเมื่อแก่จัด ผลสุกมักจะนำไปตากแห้ง หรือปล่อยให้แห้งคาต้น ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่เหมาะสม สามารถเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี มีรสชาติหวานจัด จึงมักถูกเข้าใจผิดว่ามีการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาล




ภาษาทางพฤกษศาสตร์

"Date Palm : Phoenix  dactylifera  L."
  Group        :     Spadiciflora
Order    :     Palmea
  Family    :   Palmaceae
       Tribe    :    Phoeniceae
Genus   :    Phoenix
     Species   :   Dactylifera L.
  




       ปาร์มในสกุลอินทผลัม จะมีหลายชนิด(สปีชีส์) ด้วยกัน อินทผลัมชนิดทานผลจะอยู่ในสปีชี้ส์ Dactylifera L. เท่านั้น ถ้าเป็นอินทผลัมในชนิด(สปีชีส์)อื่นๆ จะไม่ใช่อินมผลัมทานผล บางทีหลายท่านสับสนเหมารวมว่าเหมือนกันหมด ที่เราเห็นกันคุ้นตา ในบ้านเราก็จะเป็นแบบชนิด สายพันธุ์ประดับซะส่วนใหญ่ 


ปาร์มสกุลอินทผลัม ในสปีชีส์ต่างๆ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะของต้นอินทผลัม

 จากข้อมูลโครงสร้างของอินทผลัมในต่างประเทศ พบว่า อินทผลัม สามารถมีอายุยืนยาวได้ถึง 110 ปี และให้ผลผลิตต่อเนื่องยาวนาน ลำต้นสูงได้ถึง 20-25 เมตร หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ 

โครงสร้างของต้นอินทผลัม 
         ลำต้น  ขนาดทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 - 40  ซม. หรืออาจจะมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
         ก้านใบ/ใบ  ยาวประมาณ 3-5  เมตร ลักษณะเหมือนขนนก ที่โคนก้านใบจะมี หนาม หรือเงี่ยง ที่แหลมคม ประมาณ 130 - 160 เงี่ยง ใบยาวประมาณ 30-50 ซม. 
         ช่อดอก ช่อดอกจะแทงออกมาตากซอกก้านใบ (รักแร้กาบ) คล้ายกับมะพร้าวเรียกว่าจั่น ลักษระเป็นกาบ สีน้ำตาล เมื่อเริ่มแทงจั่นขึ้นมาจะใช้เวลาประมาณ 20 วัน กาบจั่นจะแตกออก มีดอกอยู่ภายใน
ช่อดอก

      เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว คือ ไม่มีรากแก้ว มีแต่รากฝอย เหมือนกับต้นมะพร้าว ต้นตาล  

      ระบบราก  โครงสร้างของระบบรากของอินทผลัม จะแบ่งออกเป็น 4 โซน ด้วยกัน 


     โซนที่ 1   เรียกว่า รากอากาศ จะเป็นราก เส้นเล็กๆ จะอยู่บริเวณโคนต้น เลื้อยขึ้นมาบนต้น บริเวณโคน รากชุดนี้ จะขึ้นมารับออกซิเจนในอากาศเป็นหลัก
     โซนที่ 2   เรียกว่า รากหาสารอาหาร รวบรวมสารอาหารและความชื้น สำหรับเลี้ยงต้นอินทผลัม จะมีแขนงมากมาย กระจายอยู่รอบๆต้น เท่ากับทรงพุ่มของต้น ลึกลงไปใต้ดินจากผิวดินลงประมาณ 1 เมตร 
     โซนที่ 3   เรียกว่า รากหาสารอาหารเสริม ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อ หาอาหารเสริมให้มาขึ้น คล้ายกับโซนที่สอง แต่จะอยู่ลึกลงไป จากผิวดิน 1-2 เมตร  ในกรณีที่ดินบริเวณนั้นไม่ดี ธาตุอาหารน้อย รากโซนนี้จะมีบทบาทมาก ในการหาสารอาหารทดแทนเลี้ยงต้น
      โซนที่ 4  เรียกว่าการหาน้ำ รากบริเวณนี้ จะอยู่ลึกลงไปใต้ดิน เพื่อหาน้ำมาเลียงลำต้น อาจจะลงลึกถึงน้ำบาดาลเลยทีเดียว รากในโซนนี้จะมีขนาดใหญ่แข็งแรง เปรียบเสมือนรากแก้ว

          หน่อ (Offshoot)  หน่อของอินทผลัม จะพัฒนาเกิดขึ้นมาหลังจากต้น อายุได้ 2 ปีจากการลงดินปลูก หน่อจะมี 2 ประเภท คือ หน่อดิน  และ หน่ออากาศ หน่อดินจะ เกิดขึ้นบริเวณโคนต้นแม่ รอบๆ ต้น ส่วนหน่ออากาศ จะเกิดขึ้นบริเวณลำต้นที่สูงขึ้นไปตามภาพ หน่อจะเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ประมาณ 20 หน่อ ตลอดอายุของต้นอินทผลัม หน่อสามารถแยกออกไปขยายพันธุ์ต่อได้ การแยกหน่อไปปลูก จะต้องรอให้หน่อมีรากของตัวเองก่อนถึงจะแยกไปชำปลูกต่อได้ โดยอายุหน่อที่มีรากจะอยู่ที่ 1 ปีขึ้นไป  การขยายพันธุ์โดยวิธีการยแกหน่อไปปลูกเป็นที่นิยมมาแต่โบราณ เพราะต้นกหน่อที่แยกไปนั้น จะได้พันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่ทุกประการ ไม่มีการกลายพันธุ์


          เป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือ อินทผลัมจะเป็นต้นเพศผู้ และ ต้นเพศเมีย อยู่คนละต้นกัน ต้องอาศัยการผสมเกสรให้จึงจะติดผล โดยต้นเพศเมียเท่านั้นจึงจะติดผลมีผลได้ ส่วนต้นตัวผู้จำเป็นต้องมีเพื่ออาศัยนำเกสรมาผสมให้ต้นตัวเมีย การปลูกจึงต้องมีทั้งต้นตัวผู้และัตัวเมีย ดังนั้นจึงต้องมีการผสมเกษรให้กับต้นเพศเมีย จึงจะสามารถเกิดผลผลิตได้ การปลูกอินทผลัมในเชิงพานิชย์จึงจำเป็นที่จะต้องผสมเกษร เพื่อความสมบูรณ์ของผลผลิตที่เกิดขึ้น  การที่ไม่ผสมเกษรให้กับอินทผลัม ก็อาจจะติดผล ได้ เนื่องจากมีละอองเกษรที่ลมพัดปลิวมาจากแหล่งอื่น หรือแมลงนำมาผสม แต่โดยส่วนใหญ่จะเกิดผลที่ไม่มสบูรณ์ ผลพอการ  
ลักษณะของกลีบดอก เพศเมีย และ เพศผู้

           ผล  หลังจากที่ผสมเกษร ผลอินทผลัมจะพัฒนาโตขึ้นไปเรื่อย จนกว่าจะทานได้ แก่สมบุรณ์จะใช้เวลาประมาณ 150-200 วัน ลักษณะของผลแก่ จะมีทั้ง ผลกลม  ผลกมรี ผลรียาวคล้ายนิ้วมือ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีแดงเข้ม ไปจนถึงสีม่วง รวมไปถึงเรื่องของขนาดของผล ก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของสานพันธุ์ 
ลักษณะผลอินทผลัมสายพันธุ์ต่างๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น